(Last Updated On: 04/11/2021)
ต่อมหมวกไตล้า

ต่อมหมวกไตล้า เป็นอาการที่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามไป หรือเรียกได้ว่าเป็นโรคร้ายที่ถูกลืม ทั้ง ๆ ที่มันเกิดขึ้นเยอะมาก และทำให้สุขภาพรวมถึงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะที่สร้างฮอร์โมนเพื่อเผาผลาญอาหารให้ร่างกายสร้างพลังงานขึ้นมา และสามารถต่อสู้และรับมือกับความเครียด ความเหนื่อยล้าต่าง ๆ ในชีวิตได้ แต่เมื่อมาถึงจุดจุดหนึ่งที่ความเครียดมีมากเกินไป สะสมมาเป็นเวลานานเกินรับไหว ต่อมหมวกไตก็จะเกิดอาการล้า และทำให้ไม่สามารถรักษาพลังงานเอาไว้ได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดโรคร้ายขึ้นกับร่างกาย

ภาวะต่อมหมวกไตล้า เป็นภาวะที่คนไทยไม่ค่อยรู้จักกันสักเท่าไหร่ เพราะเป็นแค่อาการที่แสดงให้เห็นก่อนจะเกิดโรคเท่านั้น ยังไม่มีโรคหรือสิ่งร้ายแรงอะไร จึงทำให้หลาย ๆ คนไม่ได้ทำความเข้าใจและไม่รู้จัก แต่อาการของภาวะนี้จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตลดลง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรง ไม่มีแรง ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาจากภาวะต่อมหมวกไตล้าได้

หน้าที่ของต่อมหมวกไต

1. สร้างฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol)

เป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อสู้กับความเครียดโดยเฉพาะ ซึ่งปกติแล้วร่างกายจะผลิตฮอร์โมนตัวนี้เยอะมากในตอนเช้า เพื่อให้ร่างกายตื่นตัวพร้อมทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดทั้งวัน โดยจะมีฮอร์โมนคอร์ติซอลนี้เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ทำให้มีพลังจัดการเรื่องต่าง ๆ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะถูกลดลงเหลือเพียง 10% เท่านั้นในช่วงเย็น

นอกจากกำจัดความเครียด และสร้างพลังงานให้ร่างกายแล้ว ฮอร์โมนคอร์ติซอล ยังมีหน้าที่กระตุ้นความดันโลหิตให้สูงขึ้น และทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เพื่อให้สามารถฝ่าฟันเรื่องต่าง ๆ ระหว่างวันได้ แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่มีความเครียดสะสมเรื้อรังจากการทำงาน หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ ระดับฮอร์โมนตัวนี้ที่สูงขึ้นก็จะส่งผลเสียต่อร่างกาย เพราะมันมีฤทธิ์ในการทำลายล้างที่จะทำให้ร่างกายเสื่อมสภาพและแก่เร็ว

กลับกันถ้าฮอร์โมนคอร์ติซอลมีน้อยเกินไป ก็จะทำให้ไม่มีแรงลุกขึ้นจากที่นอนในตอนเช้า ขาดความกระตือรือร้น และทำให้เกิดการอ่อนเพลียตลอดทั้งวัน

2. สร้างฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone)

ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรนเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมสมดุลของแร่ธาตุโซเดียม และโปแตสเซียม ซึ่งจะช่วยในการควบคุมของเหลวในร่างกายของเรานั่นเอง

3. สร้างฮอร์โมนดีเอชอีเอ (DHEA, Dehydroepiandosterone)

หรือที่รู้จักกันดีว่าเป็นฮอร์โมนตั้งต้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นฮอร์โมนเพศ เช่น เอสโตรเจน, โปรเจสเตอโรน และเทสโทสเตอโรน นอกจากนี้ฮอร์โมนดีเอชอีเอยังเป็นฮอร์โมนต้านความเครียด ที่มีฤทธิ์ในการเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ และชะลอความเสื่อมของร่างกายอีกด้วย

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดต่อมหมวกไตล้า

สาเหตุภาวะต่อมหมวกไตล้า

อาการต่อมหมวกไตล้า สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ที่สำคัญเลยก็คือ

  1. เครียด คิดมาก มีเรื่องกังวลใจอยู่ตลอดเวลา
  2. นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
  3. เมื่อรู้สึกเหนื่อยแล้วยังฝืนทำกิจกรรมต่อไป ไม่พักผ่อน
  4. อ่านหนังสือสอบมากเกินที่ร่างกายจะรับไหว ทำให้เกิดความเครียดสะสม
  5. ไม่มีเวลาเหลือให้ตัวเองใช้ผ่อนคลาย
  6. เครียดจากอาการเจ็บป่วยเรื้อรัง

เมื่อเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า จำเป็นต้องรักษาหรือไม่

จำทำอย่างไรเมื่อเกิด ภาวะต่อมหมวกไตล้า ควรที่จะได้รับการรักษาเหมือนกับอาการผิดปกติอื่น ๆ เพราะภาวะต่อมหมวกไตล้าจะส่งผลกระทบให้เกิดการอ่อนเพลียเรื้อรัง ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพเหมือนที่ควรจะเป็น บางคนอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น เส้นยึด ปวดตามจุดต่าง ๆ สะบัก ตามหลัง ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการซึมเศร้า มีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด ฉุนเฉียว เรียกง่าย ๆ ว่า ต่อมหมวกไตล้า จะทำให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกาย รวมทั้งจิตใจ ผิดปกติไปจนหมด เกิดอาการรวน โดยเฉพาะผู้หญิง เมื่อเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าขึ้นจะทำงานไม่ไหว ต้องลาออกเพื่อมาหยุดพัก ทำให้อาจหมดอนาคตในการทำงานได้

การตรวจเช็คภาวะต่อมหมวกไตล้า

สำหรับใครที่สงสัยว่าตัวเองมีภาวะต่อมหมวกไตล้าหรือไม่ สามารถตรวจเช็คได้หลายวิธี เช่น ทำแบบทดสอบเพื่อดูว่าตัวเองเข้าข่ายภาวะต่อมหมวกไตล้าหรือไม่ เมื่อทราบผลลัพธ์แล้วก็อาจลงลึกถึงการทดสอบที่ละเอียดขึ้น โดยการตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ ตรวจเช็คด้วยคลื่นพลังงานที่เรียกว่าควันตัมสแกน หรือเป็นการตรวจที่ละเอียดมากกว่าในโรงพยาบาล ซึ่งการทดสอบที่ง่ายที่สุดสำหรับมองหา ต่อมหมวกไตอักเสบ ก็คือ การสังเกตตัวเอง ดังต่อไปนี้

สำหรับภาวะต่อมหมวกไตล้าจะทำให้เราไม่อยากตื่นนอนในช่วงเช้า 7-8 โมงจะลืมตาไม่ขึ้น เมื่ออาบน้ำเสร็จแล้วสมองจะไม่ทำงาน จนกว่าจะเข้า 10 โมงเช้า รู้สึกไม่สดชื่น เหมือนเครื่องยนต์ติดขัด การตัดสินใจช้าลงและเมื่อเริ่มเข้าเวลา 10 โมงเป็นต้นไป เครื่องยนต์ในร่างกายถึงจะเริ่มทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจะกลับมาสะดุดอีกครั้งในช่วงเที่ยง ซึ่งเมื่อทานอาหารเข้าไปก็จะเริ่มรู้สึกล้า ง่วงนอน

ให้ลองสังเกตตัวเองดูว่าช่วงบ่ายเราทำงานได้ยากลำบากมั้ย ต้องดื่มกาแฟ หรือใช้เครื่องดื่มชูกำลังรึเปล่า ถ้าใช่แสดงว่าเราเองก็มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้าได้มากเชียวล่ะ นอกจากนี้ผู้ที่เสี่ยงต่อการมีภาวะต่อมหมวกไตล้าสามาระเช็คตัวเองได้ดังนี้

ภาวะต่อมหมวกไตล้า

1. ตื่นนอนยาก นอนไม่ค่อยหลับ แม้จะนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่ก็ยังรู้สึกอ่อนเพลีย

ภาวะต่อมหมวกไตล้า จะทำให้รู้สึกอ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะนอนหลับมาอย่างเพียงพอในตอนกลางคืน และได้งีบในตอนกลางวันก็ตาม ทำให้หลายคนใช้คาเฟอีนในการแก้ไขปัญหา ส่งผลให้ยิ่งแย่ลงเพราะไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ในตอนกลางคืน

2. ประจำเดือนผิดปกติ

ผู้หญิงที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า อาจส่งผลกระทบถึงฮอร์โมนเพศหญิงอื่น ๆ เช่น โปรเจสเตอโรน และเอสโตรเจน ทำให้ประจำเดือนไม่ปกติ คล้าย ๆ วัยใกล้หมดประจำเดือน คือมาไม่ตรง ร้อนวูบวาบ นอนไม่หลับ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย

3. ผิวหนังและเส้นผมมีปัญหา

ภาวะต่อมหมวกไตล้าทำให้เส้นผมและผิวหนังเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้ขนร่วง ผมบาง ผมแห้งเสีย บางคนอาจมีสีเปลี่ยน ใต้ตาคล้ำ ผิวแห้ง เป็นต้น

4. อยากกินของหวาน หรือของเค็ม

อาการต่อมหมวกไตล้า จะแสดงอาการเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารออกมา เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลดแบบไม่ทราบสาเหตุ อยากของหวาน ของเค็ม เนื่องจากต่อมหมวกไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน ซึ่งช่วยให้ไตควบคุมการขับถ่ายของเหลวและแร่ธาตุ เมื่อต่อมหมวกไตล้า ผลิตฮอร์โมนได้น้อยลง ทำให้ร่างกายต้องการทานสิ่งต่าง ๆ เข้าไปทดแทน

5. แพ้กลางวัน เก่งกลางคืน ทำงานตลอดทั้งคืนแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

ภาวะต่อมหมวกไตล้า คือการที่ร่างกายไม่สามารถรักษาระดับพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการได้ในช่วงเวลากลางวัน ซึ่งอาการล้าจะล้าไปจนถึงช่วงเย็น หลัง 6 โมงเย็นขึ้นไปจะรู้สึกว่าร่างกายตื่นตัวเต็มที่ สมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สดชื่น เข้าใจทุกอย่าง อธิบายเรื่องยาก ๆ ได้อย่างง่ายดาย และจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ตัดสินใจด้วยความรวดเร็ว และทำงานได้ดีในเวลาดึก

6. เจ็บป่วยบ่อย ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

โรคต่อมหมวกไตล้า ส่งผลกระทบต่อระบบภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ร่างกายต่อต้านเชื้อแบคทีเรียได้ไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เมื่อเป็นแล้วต้องใช้เวลารักษานานกว่าปกติ ซึ่งนับเป็นปัญหาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของภาวะต่อมหมวกไตล้าเลยก็ว่าได้

7. มีปัญหาเกี่ยวกับความดันโลหิต

ภาวะต่อมหมวกไตล้า สามารถทำให้เกิดการความดันโลหิตสูง และต่ำได้ ซึ่งภาวะต่อมหมวกไตล้าอาจส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะได้ เมื่อเปลี่ยนท่าทางอย่างรวดเร็ว

8. กังวลใจอยู่ตลอดเวลา

ภาวะต่อมหมวกไตล้า ทำให้คอร์ติซอลลดต่ำลง จนร่างกายไม่สามารถรับมือกับความเครียดได้อย่างที่ควรจะเป็น ส่งผลให้คนที่มีอาการภาวะต่อมหมวกไตล้าเกิดความวิตกกังวลอยู่ตลอดเวลา ถึงแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ตาม

9. อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้

นอกจากนี้ โรคต่อมหมวกไตล้า ยังสามารถส่งผลให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นหอบหืด ภูมิแพ้ หายใจลำบาก ปัสสาวะบ่อย ปวดหลังช่วงล่าง นิ้วมือชา อ่อนเพลียอย่างรุนแรง หรือแม้แต่น้ำตาลในเลือดต่ำ

3 วิธีรักษาเมื่อเกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า

สำหรับวิธีรักษาเมื่อเกิดเหตุภาวะต่อมหมวกไตล้านั้นสามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยเริ่มจากตัวเราเองเป็นหลัก

ขั้นที่ 1: ลดความเครียด

โดยขั้นแรกให้ลดความเครียดลง เปลี่ยนมาใช้ชีวิตแบบอิสระ ไม่ต้องจัดตารางเวลาดูบ้าง แต่ละวันปล่อยให้ตัวเองเป็นคนกำหนด จากนั้นให้ฝึกการควบคุมลมหายใจเข้าออก นั่งสมาธิ กำหนดจิตให้ตัวเอง ทำจิตใจให้ปลอดโปร่ง พยายามปรับตัวเองให้เข้ากับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น

ขั้นที่ 2: หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ

นอกจากในเรื่องของจิตใจแล้ว สุขภาพร่างกายก็มีผลต่อภาวะต่อมหมวกไตล้าเช่นกัน ให้หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเลือกประเภทการออกกำลังกายที่รู้สึกว่าสนุก เช่น โยคะ เดินเล่น ตีแบดฯ เป็นต้น ไม่ควรทำให้การออกกำลังกายนั้น ๆ มีความตึงเครียด เช่น การแข่งขัน

ควรออกกำลังกายแบบหลากหลาย ทั้งคาร์ดิโอ และเวทเทรนนิ่ง เพื่อเสริมสร้างการทำงานและความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อภายนอก และระบบต่าง ๆ ภายในร่างกาย พยายามหาเวลามาออกกำลังกายให้ได้อาทิตย์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที เป็นอย่างน้อย

ขั้นที่ 3: ห้ามงดอาหารเช้า หลีกเลี่ยงอาหารหวานและเค็ม

นอกจากนี้การเลือกรับประทานอาหารก็ส่งผลโดยตรงต่อภาวะต่อมหมวกไตล้าเช่นเดียวกัน คนที่รู้ตัวว่ามีภาวะต่อมหมวกไตล้าไม่ควรงดอาหารเช้าเด็ดขาด ควรกินก่อน 10 โมงเช้าเพื่อให้ร่างกายมีพลังงานไปหล่อเลี้ยง และดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ แบ่งอาหารที่รับประทานออกเป็นมื้อเล็ก ๆ วันละหลาย ๆ มื้อ และที่สำคัญควรรับประทานผลไม้ หรือน้ำผลไม้ใส่เกลือ เพื่อเพิ่มพลังงานให้ร่างกายทุก ๆ เช้า

ควรหลีกเลี่ยงการทานขนมหวานมากเกินไป เช่น โค้ก คุกกี้ หรือโดนัท ถ้าจะให้ดีและรักษา ภาวะต่อมหมวกไตล้า ให้หายได้จริง ต้องเริ่มใส่ใจในการกินมากขึ้น ทานแต่อาหารที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ขนมปังโฮลวีท ผัก และผลไม้ ลดการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มชูกำลัง และที่สำคัญพยายามรับประทานอาหารเสริมวิตามิน และแร่ธาตุให้เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามินซี, บี 5, ไนอะซิน (บี 3), แมกนีเซียม, โสม, ชะเอม, เห็ดหลินจือ เป็นต้น เพื่อเสริมการทำงานของต่อมหมวกไตให้กลับมาทำงานได้อย่างปกติ

สำหรับใครที่มีอาการต่อมหมวกไตล้ามาก ๆ หรือมีภาวะอื่น ๆ แทรกซ้อนด้วย อาจต้องอาศัยการซ่อมแซมเซลล์ต่อมหมวกไต ซึ่งสกัดจากอวัยวะเนื้อเยื่อต่อมหมวกไตออกมาเป็นเปปไทด์ แล้วฉีดที่สะโพกหรือกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้เซลล์วิ่งเข้าไปที่ต่อมหมวกไต โดยเซลล์แต่ละอวัยวะจะสามารถซ่อมแซมตัวเองได้ ซึ่งจะใช้เวลา 2-3 เดือนจึงจะทำให้ผู้ที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้ากลับมาแข็งแรง สดชื่น และใช้ชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมือนคนปกติทุกประการ

OMG Bezzz
อาหารเสริมช่วยแก้เครียด นอนไม่หลับ พักผ่อนไม่เพียงพอ
  • แอล-กลูตามีน – ช่วยผ่อนคลาย ลดความเครียด
  • แอล-ธีอะนีน – ช่วยให้สมองผ่อนคลาย ปรับปรุงคุณภาพการนอนหลับ และเพิ่มระบบภูมิคุ้มกัน
  • คาโมไมล์ – มีคุณสมบัติช่วยรักษาความวิตกกังวล ความเครียด
  • วิตามินบี 6 และ บี 12 – ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นโดยการควบคุมระดับเซโรโทนินในสมองของคุณ
Bezzz
ดูข้อมูลสินค้า