(Last Updated On: 12/08/2021)
Burnout Syndrome

ภาวะ Burnout หรือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน กับวัยที่เริ่มจะหมดแรง ใครที่อยู่ในช่วงวัยทำงานแล้วเคยมีอาการเหล่านี้กันบ้างยกมือขึ้น

  • รู้สึกเหนื่อยแบบเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน ๆ พักผ่อนนอนหลับยาว ๆ ก็ยังไม่มีอาการดีขึ้น
  • เครียดหดหู่ รู้สึกเหมือนจะซึมเศร้า ไม่อยากมีปฏิสัมพันธ์หรือพูดคุยกับใคร บางคนมีภาวะความดันโลหิตสูงและภาวะต่อหมวกไตล้าเป็นผลข้างเคียง
  • เริ่มก้าวร้าว หงุดหงิดง่าย อารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ อาจจะไปลงกับคนในบ้าน หรือบางครั้งก็กับที่ทำงาน
  • ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ผลงานวิจัยจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้เตือนไว้ว่า เมื่อเกิด

ภาวะ Burnout จะมีอาการที่ไม่สามารถรับแรงกดดันได้ การควบคุมตัวเอง และสมาธิในการทำงานจะลดลง

ซึ่งผลกระทบที่ร้ายแรงคือ นอกจากร่างกายและจิตใจยังเครียดแล้ว เผลอ ๆ จะโดนเจ้านายประเมินให้พิจารณาตัวเองใหม่หรือร้ายแรงถึงขั้นตกงานเลยทีเดียว

อาการ ภาวะหมดไฟ

อาการต่าง ๆ เหล่านี้สำคัญถึงขนาดที่ว่าองค์กรอนามัยโรค(WHO) ถึงกับให้นิยามว่าเป็นปรากฏการณ์ที่มีผลต่อภาวะการทำงาน หลาย ๆ คนอาจจะสับสนระหว่างอาการเหล่านี้กับโรคซึมเศร้า ซึ่งทาง WHO ออกมาคอนเฟิร์มแล้วว่า

ภาวะ Burnout ไม่ใช่โรคซึมเศร้า

แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นภาวะที่เกิดจากความเครียดสะสมในการทำงานมาเรื้อรัง หลาย ๆ คนบอกว่าถ้าทำงานเหนื่อยมาก ยังไงก็มีสารพัดวิตามิน สารพัดทางเลือกของอาหารเสริมมาช่วยทำให้เรามีแรง

ซึ่งจริง ๆ แล้วส่วนหนึ่งตัวช่วยเหล่านี้ก็สามารถช่วยมนุษย์ทำงานได้ในระดับสุขภาพ แต่อย่าลืมว่าพออาการสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนขีดสุด จะกลายเป็นอาการหมดใจ และหมดไฟในการทำงาน

ต่อมหมวกไตล้า จากภาวะ Burnout

ในบางรายอาจจะมีอาการร่วมกับภาวะต่อมหมวกไตล้า ซึ่งเกิดจากการเสพติดความเครียดเป็นเวลานาน ๆ จนส่งผลต่อความดัน เพราะเครียดเรื้อรัง ก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง กลายเป็นสร้างโรคให้กับตัวเอง

ก่อนอื่นต้องแยกให้ออกก่อนนะคะ ว่าอาการขี้เกียจไปทำงาน กับอาการหมดไฟ นั้นแตกต่างกัน

อาการขี้เกียจหรือเบื่อชั่วคราวจะเป็นแค่บางวันบางช่วง แต่ในส่วนของภาวะ Burnout ถือว่าเป็นความเหนื่อยและเบื่อเรื้อรัง ติดต่อกันมายาวนาน จนทำให้เราเกิดอาการอยากจะเลิกทำงานเอาดื้อ ๆ

ดังนั้นลองมาดูวิธีที่จะป้องกันหรือช่วยลดอาการเหล่านี้ที่กำลังเข้ามาคุกคามคุณผู้อ่านอยู่ โดยหลัก ๆ แล้วขอแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก

  • ในส่วนแรกจุดเริ่มต้น สำรวจตัวเอง รวมถึงการจัดการระบบความคิดเมื่อเริ่มมีอาการ Burnout
  • ในส่วนถัดมาคือการจัดการอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองและการดูแลกายและใจของตัวเองค่ะ
ตรวจสอบหาสาเหตุ ภาวะหมดไฟ

จุดเริ่มต้นและการสำรวจตัวเอง

ก่อนอื่นเริ่มจากการทำความเข้าใจของอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แล้วแยกย่อยออกมาเป็นหัวข้อก่อน

เพราะเราจะได้รู้ว่าจริง ๆ แล้วตัวเราเองกำลังประสบปัญหาและสภาวะการณ์อย่างไรบ้าง เปรียบเสมือนลองเป็นคุณหมอวินิจฉัยอาการตัวเอง

ลองฟังเสียงหรือฟีดแบ็กจากคนรอบข้างดูว่า ช่วงนี้เรามีอาการแปลก ๆ เหวี่ยงวีน หรือเก็บตัวจนผิดปกติไหม

หลักในการวิเคราะห์เบื้องต้นเลย คือ แยกระหว่างสาเหตุที่เกิดจากการทำงาน กับสาเหตุที่เกิดจากการใช้ชีวิตค่ะ

สาเหตุจากการทำงาน

  • ไม่สามารถทำงานได้สำเร็จลุล่วงได้เหมือนแต่ก่อน
  • ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ไม่เคยได้รับคำชมจากนาย หรือได้รางวัลต่าง ๆ จากบริษัทเลย
  • งานเยอะเกินไป และโดนคาดหวังทั้งจากเจ้านายและเพื่อนร่วมงานสูง
  • ทำงานที่ไม่ค่อยน่าสนใจ หรือไม่มีความท้าทายเลย
  • ทำงานอยู่ภายใต้การกดดัน และการแข่งขันที่สูงมาก

สาเหตุจากการใช้ชีวิตหรือไลฟ์สไตล์

  • สะสมความเครียดเป็นเวลานาน จนเกิดอาการต่อมหมวกไตล้า
  • ขาดความสัมพันธ์ที่ดีในชีวิต ไม่ว่าจากครอบครัว คนรัก หรือจากเพื่อนฝูง
  • มีความรับผิดชอบในหลาย ๆ เรื่อง หรือเป็นหัวหน้าครอบครัว
  • เป็นคนที่ชอบความสมบูรณ์แบบหรือ Perfectionist
  • เป็นคนที่ชอบมองโลกในแง่ร้าย มองเห็นแต่ปัญหา ไม่เคยเห็นความรื่นรมย์ในชีวิต
  • นอนหลับพักผ่อนน้อย หรือหลาย ๆ ครั้งก็มีอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท

หลังจากรู้อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อย่างแรก ถ้าไม่มั่นใจว่าคือ ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือไม่ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือนักจิตวิทยา ดูก่อน เพราะอาการหมดไฟในการทำงานกับอาการของโรคซึมเศร้า อาจจะมีรอยต่อที่คาบเกี่ยวและคล้ายกันค่ะ

ถ้าหากเรามาลองทบทวนดูแล้ว และมั่นใจว่าเรากำลังประสบกับสภาวะ Burnout Syndrome อย่างแน่นอน

อย่างแรกที่แนะนำคือ เปิดใจรับกับอาการผิดปกติของความรู้สึกและร่างกาย อย่าปฏิเสธว่า ชั้นยังไหว ทั้ง ๆ ที่ฝืนหรือในใจไปต่อไม่ได้แล้ว อยากให้มองหาความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง โดยเริ่มที่ตัวเองก่อนก็ได้ค่ะ

แก้ปัญหาภาวะหมดไฟ

1. นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา

ปิดคอมพ์และมือถือเวลาเข้าห้องนอนแล้ว เพราะไม่งั้นจิตใจของคุณก็จะพะวงแต่งาน ทำให้ไม่ได้พักผ่อนได้อย่างเต็มอิ่ม

2. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

รวมถึงดื่มน้ำเปล่าให้พอเพียง

3. ลดความเครียดลง

โดยฝึกนั่งสมาธิหรือเปิดเพลงที่ชอบคลอเบา ๆ ระหว่างการทำงาน เพราะความเครียดนั้นนอกจากส่งผลต่ออารมณ์ยังส่งผลต่อระบบความดันโลหิต อาจจะทำให้ความดันสูงขึ้นได้

4. ปรึกษาแพทย์ หากมีอาการต่อมหมวกไตล้า

ควรปรึกษาแพทย์ หรือทานอาหารเสริมจำพวกวิตามินรวม และควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติโดยการลดความเครียดลง นอกจากนี้พยายามหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแอลกอฮอล์ กาแฟ และอาหารฟาสต์ฟู้ดด้วยค่ะ

5. ทานอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ หรือวิตามินรวม

หากคุณคิดว่าไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอในแต่ละวัน ลองหาพวกอาหารเสริมเพื่อสุขภาพ หรือวิตามินรวมมาทานบำรุงร่างกาย

อาหารเสริมท่านชาย OMG Emperor
ออกแบบมาเพื่อผู้ชายวัยทำงานโดยเฉพาะ
  • รู้สึกสดชื่น ไม่เบลอเมื่อตื่นนอน
  • กระปรี้กระเปร่า แรงดีไม่มีตกตลอดวัน
  • บำรุงสมรรถภาพ คืนความฟิตและสมรรถภาพให้กลับมา
  • เสริมการทำงาน ระบบประสาทและสมอง
  • มีสมาธิ ไม่หลุดโฟกัสกับงานตรงหน้า
  • นอนหลับสบาย ช่วยคลายความเครียด
OMG Emperor อาหารเสริมท่านชาย
สั่งซื้อสินค้า คลิก