(Last Updated On: 02/08/2021)
ถั่งเช่า โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน (Diabetes) คือ โรคที่ร่างกายมีภาวะน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงผิดปกติ เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable diseases; NCDs) ซึ่งสถิติในปี พ.ศ.2558 พบว่าทั่วโลกมีคนเป็นโรคเบาหวานถึง 415 ล้านคน และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 642 ล้านคน ในปี พ.ศ.2588

ทุก 6 วินาทีจะมีคนเสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1 คน[1]

สำหรับสถิติการสำรวจของประเทศไทยปี พ.ศ. 2557 พบว่าประชากรไทยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เป็นโรคเบาหวานร้อยละ 8.8 (ประชากรไทยจำนวน 100 คน จะมีอัตราการเป็นโรคเบาหวาน 8-9 คน)

โดยผู้หญิงจะมีอัตราการเป็นโรคเบาหวานมากกว่าผู้ชายคือร้อยละ 9.8 (ผู้หญิงจำนวน 100 คน จะมีอัตราการเป็นโรคเบาหวาน 9-10 คน)

ในขณะที่ผู้ชายเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 7.8 (ผู้ชายจำนวน 100 คน จะมีอัตราการเป็นโรคเบาหวาน 7-8 คน) ซึ่งกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานมากที่สุดคือกลุ่มผู้สูงอายุ 60-69 ปี[2]

ปกติแล้วเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เช่น หลังการรับประทานอาหาร ร่างกายจะมีกลไกในการปรับระดับน้ำตาลให้กลับคืนสู่ภาวะปกติ โดยการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินซึ่งผลิตจากตับอ่อน มากระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ไขมัน และตับให้นำกลูโคสไปใช้ เช่น เปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจนที่กล้ามเนื้อ และตับ

แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ร่างกายไม่สามารถลดระดับน้ำตาลให้กลับสู่ภาวะปกติได้

โรคเบาหวานอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes)

มีประมาณร้อยละ 5 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ หรือผลิตแต่ไม่เพียงพอ

มักพบในเด็กหรือวัยรุ่น โดยผู้ป่วยมักจะตัวผอม หรือน้ำหนักปกติ ไม่อ้วน ต้องทำการรักษาโดยการฉีดอินซูลินเข้าร่างกายโดยตรงเท่านั้น

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes)

มีประมาณร้อยละ 95 ของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน เกิดจากการที่ร่างกายผลิตอินซูลินได้ แต่อินซูลินไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเนื่องจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน

มักพบในผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุ ซึ่งเบาหวานชนิดนี้นั้นผู้ป่วยมักอ้วน สามารถรักษาและควบคุมโรคได้โดยควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ทานยาหรืออาหารเสริมร่วม โดยไม่จำเป็นต้องฉีดอินซูลินโดยตรง

นอกจากนี้อาจมีเบาหวานชนิดอื่น ๆ อีก เช่น เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของยีนส์ แต่พบได้น้อยมาก[3]

สมุนไพร ระดับน้ำตาลในเลือด

สมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

ถั่งเช่า

จากการทดลองในสัตว์พบว่าสารสกัดโพลีแซคคาไรด์ในถั่งเช่า มีคุณสมบัติในการช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด สำหรับในมนุษย์นั้นมีการทดลองให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานทานถั่งเช่า พบว่าร้อยละ 95 ของผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีขึ้น ในขณะที่วิธีอื่น ๆ ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเพียงร้อยละ 54[4]

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือมีสารออกฤทธิ์สำคัญที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายชนิด สารที่มีบทบาทต่อการควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดของเห็ดหลินจือคือโพลีแซคคาไรด์ มีการทดลองให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รับยาซึ่งทำจากสารสกัดจากเห็ดหลินจือ พบว่าสารสกัดจากเห็ดหลินจือนี้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้[5]

เบต้ากลูแคนจากโอ๊ต

เบต้ากลูแคนจากโอ๊ต เป็นใยอาหารชนิดหนึ่ง มีงานวิจัยหลายงานได้ศึกษาผลของเบต้ากลูแคนในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งพบว่าสามารถช่วยได้ จากคุณสมบัติการเป็นใยอาหารของเบต้ากลูแคน ทำให้ช่วยชะลอการดูดซึมกลูโคส ระดับน้ำตาลในเลือดไม่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเบต้ากลูแคนยังช่วยกระตุ้นการส่งสัญญาณในกลไกการออกฤทธิ์ของอินซูลินอีกด้วย[6] นอกจากนี้การได้รับเบต้ากลูแคนจากโอ๊ตต่อเนื่อง 3-8 สัปดาห์ ยังส่งผลให้ระดับน้ำตาลโดยรวมในเลือดลดลงด้วย[7]

โสมเกาหลี

มีการทดลองให้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากโสมเกาหลีแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยทำการวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลังได้รับสารละลายกลูโคส พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับโสมเกาหลี มีระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโสมเกาหลีอย่างชัดเจนตั้งแต่นาทีที่ 30 นั่นคือโสมเกาหลีมีคุณสมบัติในการช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือด[8]

จะเห็นได้ว่าโรคเบาหวานนั้นใกล้ตัวเรามาก เราจึงควรระมัดระวังพฤติกรรมในการรับประทานอาหารมากขึ้น หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ

หรือควรรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพรข้างต้น ซึ่ง OMG Cordy-1 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถั่งเช่าทิเบต ตังถั่งเช่า คุณภาพแท้ 100% ผสมเห็ดหลินจือ โสมเกาหลี เบต้ากลูแคน สกัดเข้มข้น ก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่ง เพราะสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญให้ OMG Cordy-1 ช่วยดูแลคุณครับ

CORDY-1 ถั่งเช่าทิเบตแท้ 100%
(60 แคปซูล)

OMG Cordy-1 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถั่งเช่าทิเบต ตังถั่งเช่า คุณภาพแท้ 100% ผสมเห็ดหลินจือ โสมเกาหลี เบต้ากลูแคน สกัดเข้มข้น ฟื้นฟูร่างกายและเสริมสมรรถภาพใน 1 เดียว

อาหารเสริม ตังถั่งเช่า
สั่งซื้อสินค้า คลิก

อ้างอิง

  1. International Diabetes Federation. 2015. IDF DIABETES ATLAS. 7th edition.
    http://www.diabetesatlas.org/upload/resources/previous/files/7/IDF%20Diabetes%20Atlas%207th.pdf
  2. วิชัย เอกพลากร. สถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย วารสารเบาหวาน พ.ศ. 2560 ปีที่ 49 ฉบับที่ 1 หน้า 7-14. และรายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557 นนทบุรี สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
    https://dmthai.org/attachments/ebook/2560_49-1.pdf
  3. Dean L, McEntyre J. 2004. The Genetic Landscape of Diabetes. National Center for Biotechnology Information (US); 2004
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK1667/
  4. Rakesh K Joshi. 2016. Phytochemical and medicinal aspect of Cordyceps sinensis (Berk.): A review. Journal of Medicinal Plants Studies 2016; 4(1): 65-67
    http://www.plantsjournal.com/archives/2016/vol4issue1/PartB/Plants-3-6-46.pdf
  5. Gao Y, Lan J, Dai X, Ye J, Zhou S. 2004. A phase I/II study of Lingzhi mushroom Ganoderma lucidum (W. Curt.: Fr.) Lloyd (Aphyllophoromycetideae) extract in patients with type II diabetes mellitus. Int J Med Mushrooms. ,6:33–40
    http://www.dl.begellhouse.com/journals/708ae68d64b17c52,0738f8d34e863c74,1629a45749954343.html
  6. Jiezhong Chen, Kenneth Raymond. 2008. Beta-glucans in the treatment of diabetes and associated cardiovascular risks. Vasc Health Risk Manag. 2008 Dec; 4(6): 1265–1272
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2663451/
  7. Xiao Li Shen et al. 2016. Effect of Oat β-Glucan Intake on Glycaemic Control and Insulin Sensitivity of Diabetic Patients: A Meta-Analysis of Randomized Controlled Trials. Nutrients. 2016 Jan; 8(1): 39
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4728652/
  8. Hyangju Bang et al. 2014. Korean Red Ginseng Improves Glucose Control in Subjects with Impaired Fasting Glucose, Impaired Glucose Tolerance, or Newly Diagnosed Type 2 Diabetes Mellitus. J Med Food. 2014 Jan 1; 17(1): 128–134
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/24456363