(Last Updated On: 17/11/2021)
โรคกระดูกพรุน

เราเชื่อได้เลยว่าหลายๆ คน คงจะเคยได้ยินคำว่า “โรคกระดูกพรุน” กันมาบ้างแล้ว! ซึ่งมีผู้คนจำนวนไม่น้อยคิดว่าโรคกระดูกพรุนนั้นมักจะเกิดขึ้นกับกลุ่มคนผู้สูงอายุ แต่! ในความเป็นจริงแล้ว หากคุณไม่ดูแลรักษาสุขภาพ ปล่อยปะละเลยในการกิน เจ้าโรคกระดูกพรุนนี้ก็อาจจะมาเยือนร่างกายของเราเอาได้ง่าย ๆ ฉะนั้นในวันนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับโรคกระดูกพรุนแบบเชิงลึกกัน ซึ่งจะมีข้อมูลอะไรที่น่าสนใจบ้าง เราไปติดตามพร้อม ๆ กันเลย!

โรคกระดูกพรุน คืออะไรกันนะ ?

โรคกระดูกพรุน Osteoporosis คือ โรคที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดน้อยลงจากเดิม จนส่งผลให้กระดูกเสื่อม กระดูกบาง ผิดรูป และมีโอกาสที่จะแตกหักได้ง่ายมากขึ้น เช่น เกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ถึงขั้นต้องใส่เฝือกดามกระดูกหรือในบางกรณีต้องผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกกันเลยทีเดียว

ซึ่งในผู้ป่วยบางรายโรคกระดูกพรุนอาจจะทำให้มีส่วนสูงที่ลดลง อันเนื่องมาจากมวลกระดูกผุกร่อน หรือเรียกง่าย ๆ เลยก็คือ โรคกระดูกพรุนนี้จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกแตกหัก เพราะกระดูกไม่สามารถรับน้ำหนักหรือแรงกระแทกได้เท่าเดิม!

โรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ / โรคกระดูกพรุนในวัยทอง

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าโรคกระดูกพรุนมักจะพบได้บ่อยในกลุ่มผู้สูงอายุ อันเนื่องมาจากการสลายของเนื้อกระดูกอย่างต่อเนื่องและความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลงตามกาลเวลา ซึ่งมันทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะกระดูกแตกหัก กระดูกบาง

โดยบริเวณที่มักจะประสบกับปัญหากระดูกแตกหักในกลุ่มคนสูงอายุก็เช่นบริเวณ สะโพก ข้อมือ สันหลัง ฯลฯ และถ้าหากกระดูกเกิดการแตกหักแล้ว ร่างกายจะฟื้นตัวได้ยากกว่าผู้คนในวัยอื่น ๆ เพราะกระดูกจะติดกันช้าหรืออาจจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ตรงจุด

อีกทั้งผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนก็จะมีสภาวะกระดูกพรุนคล้าย ๆ กับผู้สูงอายุเช่นเดียวกัน แต่อาจจะไม่รุนแรงเท่า

โรคกระดูกพรุนในผู้หญิง

นอกเหนือจากกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว โรคกระดูกพรุนยังมักจะเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชายอีกด้วย ยิ่งในเฉพาะกับผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ซึ่งที่เป็นแบบนั้นก็เพราะว่าร่างกายได้สูญเสียฮอร์โมนเพศหญิงจากการหมดประจำเดือน โดยพบว่า 25% ของผู้หญิงที่อายุ 60 ปีขึ้นไป จะถูกภาวะกระดูกพรุนคุกคาม และรวมไปถึงผู้หญิงที่หมดประจำเดือนเร็วหรือได้รับการผ่าตัดรังไข่ทิ้งก่อนอายุ 45 ปี ก็จะมีความเสี่ยงของการเป็นโรคกระดูกพรุนเช่นเดียวกัน

7 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุนสาเหตุที่สำคัญ มีดังต่อไปนี้

  1. การกินอาหารที่มีแคลเซียมไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือกินอาหารที่ทำให้แคลเซียมในร่างกายเกิดภาวะเสียสมดุล เช่น น้ำอัดลม กาแฟ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  2. เพศ อันนี้เราต้องยอมรับก่อนว่าโรคกระดูกพรุนมักจะเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ยิ่งในผู้หญิงที่หมดประจำเดือน ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะลดลง ทำให้มวลกระดูกลดลงตามไปด้วย
  3. อายุที่มากขึ้นหรือเข้าสู่วัยทอง ในกรณีนี้ส่วนมากจะพบกับผู้ที่มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป ทั้งในเพศหญิงและเพศชาย โดยเซลล์ที่สร้างกระดูกมีจำนวนลดลงไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  4. การสูบบุหรี่ ซึ่งการสูบบุหรี่นี้จะทำให้เซลล์ที่รับหน้าที่สร้างกระดูกลดการทำงานลงอย่างรวดเร็ว
  5. การใช้ยาบางชนิดเป็นประจำ เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากันชักบางชนิดหากจำเป็นต้องใช้ยาเหล่านี้เป็นเวลานานควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
  6. ขาดการออกกำลังกาย โดยเมื่อร่างกายของเราไม่ค่อยได้ขยับ เซลล์ที่ทำลายกระดูกจะเพิ่มจำนวนขึ้น
  7. กรรมพันธุ์ หากพ่อแม่หรือญาติที่มีความใกล้ชิดมีประวัติเป็นโรคกระดูกพรุน คุณก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนเช่นเดียวกัน

อาการโรคกระดูกพรุนที่คุณต้องรู้!

ความน่ากลัวของโรคกระดูกพรุนคือผู้ที่เป็นจะไม่รู้ตัวในช่วงแรก แต่! จะมารู้อีกทีตอนที่มีอาการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ เช่น อาการปวดกระดูก ปวดหลังเรื้อรัง หลังค่อม ส่วนสูงลดลง หรือกระดูกข้อมือ สะโพก และกระดูกสันหลังแตกหักง่ายเกินเหตุ

การรักษาโรคกระดูกพรุน

การรักษาโรคกระดูกพรุนในปัจจุบันนี้ จะมีอยู่ด้วยกัน 4 ข้อ หลักๆ ซึ่งประกอบไปด้วย..

  1. กินแคลเซียมและวิตามินดีให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละช่วงวัย
    • ผู้ชายอายุ 50-70 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1000 มก. ต่อวัน
    • ผู้หญิงอายุมากกว่า 51 ปี และผู้ชายอายุมากกว่า 71 ปี ควรได้รับแคลเซียม 1200 มก. ต่อวัน
    • ผู้ใหญ่ควรได้รับวิตามินดี 800-1000 IU ต่อวัน
  2. กินยาป้องกันการสลายของกระดูก ได้แก่ ยากลุ่มบิสฟอสโฟเนต (Bisphosphonate), ฮอร์โมนเพศหญิง (Estrogen/Progestin), SERMs (Raloxifene), Calcitonin
  3. กินยาที่กระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ (Stimulators of Bone formation) ได้แก่ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Teriparatide), Denosumab (Receptor Activator of Nuclear Factor kappa-B (RANK) Ligand (RANKL)/ RANKL Inhibitor)
  4. กินยาที่ออกฤทธิ์ป้องกันการสลายกระดูกและกระตุ้นการสร้างกระดูกใหม่ ได้แก่ วิตามินดี (Vitamin D), Strontium ranelate เป็นต้น

ทั้งนี้การกินยาแต่ละประเภทต้องมีแพทย์คอยให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด!

การดูแลผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน

ในเรื่องของการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนนั้น ไม่ได้ยุ่งยากแบบที่หลาย ๆ คน คิด! ขอเพียงแค่คุณดูแลอย่าให้พวกเขาตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ อันเป็นเหตุที่จะทำให้กระดูกแตกหัก เช่น ล้างห้องน้ำอย่างสม่ำเสมอ (ป้องกันพื้นลื่น) พยุงผู้ป่วยหากต้องเดินในพื้นที่ลาดชัน เป็นต้น

โรคกระดูกพรุน ควรกินอะไรดีนะ ?

สำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุน อาหารที่ควรรับประทานมีดังต่อไปนี้..

1. โยเกิร์ต

โยเกิร์ตจะช่วยป้องกันการเสื่อมของกระดูกและฟัน เพราะอุดมไปด้วยวิตามินบี 2, วิตามินดี, แคลเซียม, โพแทสเซียม และแมกนีเซียม

2. ปลาแซลมอน

แหล่งแคลเซียมชั้นดีอย่างปลาแซลมอนนั้น จะช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน อีกทั้งยังช่วยรักษามวลกระดูกอีกด้วย

3. นม

สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนนั้นก็คือ “นม” เนื่องจากนมอุดมไปด้วยสารอาหารที่สำคัญต่อกระดูก ทั้งแคลเซียม วิตามินดีและฟอสฟอรัส

4. มะเขือเทศ

การกินมะเขือเทศนอกจากทำให้ผิวสวยแล้ว มะเขือเทศยังมีคอลลาเจน ที่จะช่วยซ่อมแซมข้อต่อกระดูกอ่อนต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

5. งาดำ

งาดำนั้น อุดมไปสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายและกระดูก อีกทั้งยังมีแร่ธาตุทองแดงที่จะให้ร่างกายผลิตคอลลาเจนได้เพิ่มขึ้นจากเดิม และยังมีแร่สังกะสีที่จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

การป้องกันโรคกระดูกพรุนที่คุณสามารถทำได้!

  1. หมั่นพาร่างกายออกมารับแสงแดดในยามเช้า เพื่อให้ร่างกายได้สังเคราะห์วิตามินดี ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างกระดูก
  2. กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีแคลเซียมสูง
  3. หลีกเลี่ยงหรือเลิกการดื่มน้ำอัดลม กาแฟ (ผสมน้ำตาล ครีมเทียม) แอลกอฮอล์ และชา
  4. เลิกสูบบุหรี่ให้เด็ดขาด
  5. รักษาน้ำหนักตัว ไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน
  6. ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็ว การเดินสลับวิ่ง การเต้นแอโรบิก เป็นต้น
  7. หมั่นตรวจร่างกายประจำปีอยู่เสมอ ๆ
  8. มองหาอาหารเสริมจำพวกแคลเซียม คอลลาเจน เริ่มรับประทานเมื่อรู้สึกว่ากำลังจะเข้าวัยทองหรือเมื่อร่างกายหมดประจำเดือนไปแล้ว
  9. ผู้ที่ใช้ยาประเภทสเตียรอยด์เป็นเวลานาน ควรปรึกษาและอยู่ในความดูแลของแพทย์

รายละเอียดที่เราได้กล่าวไปนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน ลักษณะทั่วไปที่คุณต้องรู้ แต่! ยังมีอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะทำร่างกายของคุณหากไกลจากเจ้าโรคร้ายโรคนี้ ซึ่งนั่นก็คือ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลตินั่ม” ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับกระดูก ด้วยสารสกัดจากธรรมชาติเกรดพรีเมียม ไม่ว่าจะเป็น OMG CALTINUM คอลลาเจน ไทพ์ ทู, ผสม แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต, วิตามินซี, วิตามินดี และน้ำมันปลา อีกทั้งผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแคลตินั่มยังถูกผลิตขึ้นจากโรงงานที่ผ่านมาตรฐานรับรอง GMP และยังผ่านมาตรฐานตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข คุณจึงมั่นใจได้เลยว่า “อาหารแคลตินั่ม” คือตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้คุณนั้นห่างไกลจากโรคกระดูกพรุน!

OMG Caltinum
อาหารเสริมบำรุงข้อเข่า
  • คอลลาเจน ไทป์-ทู (Collagen Type-II) เป็นคอลลาเจนที่จำเป็นในการบำรุงรักษาข้อเข่า และยังลดอาการปวดเข่าได้อย่างดีเยี่ยม
  • แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต เป็นแคลเซียมที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ถึง 95% ทำให้ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ดีกว่าแคลเซียมชนิดอื่น
Caltinum
ดูข้อมูลสินค้า