(Last Updated On: 21/07/2021)
ตับ หน้าที่การทำงาน

ตับ ของคนเรานั้นเปรียบเสมือนโรงงานที่ทำงานตลอด 24 ชม. คอยผลิต แปรรูป จัดเก็บพลังงาน และยังคอย กำจัดสารพิษ กำจัดของเสีย ออกจากร่างกาย ซึ่งตับเป็นอวัยวะภายในที่ใหญ่ที่สุดของร่างกาย มีน้ำหนักประมาณ 2-3% ของน้ำหนักตัว[1] ซึ่งกระบวนการทำงานของตับหลัก ๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อดังนี้

3 กระบวนการทำงานของ ตับ

1. ตับ กับการ ผลิตและแปรรูปสารอาหาร

ตับเปรียบเสมือน โรงงานผลิต/แปรรูป คอยสร้างสารสำคัญให้กับร่างกายหลายชนิดจากการกรองเลือดในร่างกายผ่านทาง หลอดเลือดแดงตับ (มาจากหัวใจ) และ หลอดเลือดดำ (มาจากลำไส้) ระบบลำเลียงทั้งสองนี้นำสารอาหารมาสู่ตับ เพื่อผลิตกรดอะมิโน รวมถึงโปรตีนบางชนิด ที่เกี่ยวข้องกับระบบต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น โปรตีนฮอร์โมน โปรตีนในระบบภูมิคุ้มกัน โปรตีนที่ทำหน้าที่ขนส่งสารอาหาร โปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น

นอกจากการสร้างแล้ว ตับ ยังมีบทบาทสำคัญในการแปรรูปสารอาหาร (กระบวนการเมตาบอลิซึ่ม)[2] ยกตัวอย่างเช่น การแปรรูปของคาร์โบไฮเดรต เมื่อร่างกายได้รับสารอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตแล้ว ร่างกายจะย่อยให้เป็นหน่วยเล็กที่สุด คือ กลูโคส เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ง่าย

ซึ่ง กลูโคส นี้เองจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น และหากปริมาณน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ตับจะทำการดึงน้ำตาลในเลือดมาแปรรูปเป็นไกลโคเจนและเก็บสะสมไว้ที่ตับ หรือในสภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ตับก็จะเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นน้ำตาลกลูโคสแล้วปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดอีกทีหนึ่ง

ตับจึงมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างคือ การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ นั่นเอง นอกจากนี้ในกรณีที่มีคาร์โบไฮเดรตปริมาณมากเกินไป ตับยังสามารถเปลี่ยนให้เป็นไขมันเพื่อสะสมได้อีกด้วย

ตับจึงมีหน้าที่สำคัญอีกอย่างคือการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกตินั่นเอง

ในการเผาผลาญไขมัน ตับจะทำหน้าที่สลายไขมันแล้วเปลี่ยนเป็นพลังงาน นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่ผลิตน้ำดีซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการย่อยสลายและดูดซึมไขมันที่ลำไส้เล็ก

ในการเผาผลาญโปรตีน ตับจะทำหน้าที่สลายโปรตีนให้เป็นหน่วยเล็ก คือ กรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถนำไปใช้งานได้และเปลี่ยนเป็นพลังงานได้

2. ตับ กับการ เก็บสะสมสารอาหาร

ตับทำหน้าที่เหมือน คลังสะสมเสบียง คอยเก็บสะสมสารอาหารจำเป็นหลายชนิด เพื่อเป็นแหล่งพลังงานยามจำเป็น และเพื่อใช้ในกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น

  • เก็บสะสมคาร์โบไฮเดรตไว้ในรูปของไกลโคเจน[3]
  • เก็บสะสมแร่ธาตุ เช่น เหล็กและทองแดง[3]
  • เก็บสะสมวิตามิน เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 12[4]

3. ตับ กับการ กำจัดสารพิษ

ตับทำหน้าที่เหมือน โรงงานบำบัดของเสีย เปลี่ยนสารที่เป็นพิษให้เป็นสารที่ไม่มีพิษหรือเป็นพิษน้อยลง โดยอาศัยเอนไซม์และสารอาหารต่าง ๆ แล้วค่อยกำจัดออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี ปัสสาวะ และอุจจาระ เช่น ในกระบวนการเผาผลาญโปรตีน จะมีสารพิษเกิดขึ้นนั่นคือแอมโมเนีย ตับจะทำหน้าที่เปลี่ยนแอมโมเนียเป็นยูเรีย ซึ่งเป็นพิษน้อยกว่า ส่งเข้าสู่กระแสเลือดไปที่ไต และทำการ กำจัดของเสีย นี้พร้อมกับปัสสาวะ

ตับ กำจัดสารพิษ กำจัดของเสีย

ที่มา: The Detoxification Enzyme Systems[5]

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่ากระบวนการ กำจัดของเสีย กำจัดสารพิษ ของตับเรานั้นต้องการสารอาหารอยู่หลายชนิด ซึ่งคงไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ ๆ ที่จะกินอาหารที่มีสารอาหารได้ครบทุกอย่าง เพราะฉะนั้นนอกจากการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่แล้ว อาหารเสริมดูแลตับ หรือผลิตภัณฑ์ อาหารเสริมบำรุงตับ จึงเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

จากที่ได้กล่าวไปทั้งหมด ตับ จึงเปรียบเสมือนโรงงานที่ทรงประสิทธิภาพ ทำหน้าที่หลากหลายเกื้อหนุนกัน แต่ระบบที่ซับซ้อนเช่นนี้จะสามารถทำงานได้ราบรื่นอยู่เสมอ เราต้องดูแลตับให้แข็งแรง และนี่เองจึงเป็นเหตุผลที่เรายอมให้โรงงานแห่งนี้ปิดตัวลงไม่ได้

OMG Vitaliv
อาหารเสริมดูแลตับ
  • มีสารอาหารมากมายที่จำเป็นต่อการ กำจัดสารพิษ ของตับ อาทิเช่น ซีสเทอีน, กลูตามีน, อาร์จินีน, ไกลซีน, ทอรีน, ฟลาโวนอยด์, โคเอนไซม์ Q10, ซิงค์, วิตามิน B ต่าง ๆ เป็นต้น
  • มีการทดลองทานจริงในผู้มีปัญหาเรื่องตับ และผลตรวจที่เชื่อถือได้จาก lab ว่าผู้ทดลองมี สุขภาพตับดีขึ้น
  • สินค้าผ่านการขึ้นทะเบียน อย. 11-1-18157-1-0056
สั่งซื้อสินค้า คลิก

อ้างอิง

  1. Sherif R. Z. Abdel-Misih, Mark Bloomston, 2010. Liver Anatomy. Surg Clin North Am. 2010 August ; 90(4): 643–653.
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4038911/
  2. Liangyou Rui. 2014. Energy Metabolism in the Liver. Compr Physiol. 2014 Jan; 4(1): 177–197.
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4050641/
  3. Institute for Quality and Efficiency in Health Care. 2016. How does the liver work?
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0072577/
  4. Jiawei Li et al. 2016. The Role of Vitamins in the Pathogenesis of Non-alcoholic Fatty Liver Disease. Integr Med Insights. 2016; 11: 19–25.
    https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4849418/
  5. DeAnn J. Liska. 1998. The Detoxification Enzyme Systems. Alternative Medicine Review; 3(30): 187-198.
    https://pdfs.semanticscholar.org/d49b/aaa2c2d2b132869e0cc30d275bf9c99123de.pdf