จุดเด่นของประเทศไทยไม่ได้มีแค่รอยยิ้มพิมพ์ใจ และสถานที่ท่องเที่ยวแสนสวยงามเท่านั้น เพราะยังมี “อาหาร-เครื่องดื่ม” รสชาติดีที่หาได้ง่าย เจอได้ทุกตรอกซอกซอย อย่างที่ CNN travel ได้การันตีในบทความ The world’s 50 best foods โดยมีรายชื่ออาหารไทยติดกว่า 3 รายการ หนึ่งในนั้นคือ มัสมั่น ถึงขั้นครองใจเป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว แต่แน่นอนว่า อาหาร-เครื่องดื่มอร่อยถูกปาก โดยเฉพาะพวกของมัน ทอด หวาน แอลกอฮอล์ ฯลฯ บางทีก็มาพร้อมกับ “ไขมันพอกตับ” ที่เป็นภัยร้ายแฝงในร่างกายได้ทุกเพศทุกวัย สามารถสร้างอันตรายได้ถึงชีวิต
เราจึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับ “ไขมันพอกตับ” หรือที่บางคนคุ้นหูในชื่อของ “ไขมันเกาะตับ” ให้มากขึ้นกันว่า ไขมันพอกตับเกิดจากอะไร อาการไขมันเกาะตับเป็นอย่างไร วิธีรักษาไขมันพอกตับ การป้องกัน และสารพัดเรื่องที่ทุกคนควรรู้ เพื่อให้ตับของทุกคนห่างไกลจากไขมันมาเกาะกัน
ภาวะไขมันพอกตับ คืออะไร
ภาวะไขมันพอกตับ หรือ ไขมันเกาะตับ (Fatty-Liver) คือ ภาวะที่ร่างกายเกิดการสะสมของไขมันมากกว่าปกติ โดยเฉพาะไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ตับไม่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากปล่อยทิ้งไว้ให้สะสมไปเรื่อย ๆ อาจนำไปสู่ภาวะอันตราย อย่าง ตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง หรือมะเร็งตับ จนถึงแก่ชีวิตได้
ทั้งนี้ เชื่อว่า ไม่มีใครที่ป่วยแล้วไม่อยากรักษา แต่กว่าจะทราบว่า ไขมันในตับเกิดการสะสมจนกลายเป็นไขมันพอกตับ ส่วนใหญ่ก็สายไปเสียแล้ว เนื่องจากร่างกายจะไม่แสดงหรือส่งสัญญาณเตือนใด ๆ แม้จะเสิร์ชคำว่า “ไขมันพอกตับ อาการ pantip” ก็ไม่เจอวิธีสังเกตใด ๆ จนกว่าจะกลายเป็นภาวะอื่นที่ร้ายแรงมากขึ้น สมกับที่ถูกเรียกว่า “ภัยเงียบ” อย่างแท้จริง
สาเหตุไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้
1) พฤติกรรมเสี่ยงไขมันพอกตับ
- ดื่มแอลกอฮอล์ มากกว่า 20-30 กรัม เป็นประจำ โดยความรุนแรงของไขมันเกาะตับก็จะขึ้นอยู่กับปริมาณ ความแรงของแอลกอฮอล์ และระยะเวลาที่ทานต่อเนื่องกัน
- ทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูง โดยเฉพาะกลุ่มไขมันและคาร์โบไฮเดรต เกินกว่าที่ร่างกายต้องการจนไขมันในตับส่วนเกินเกิดการสะสม
- มีปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย เช่น ค่า BMI มากเกินไป, มีโรคประจำตัว อย่างไขมันในเลือดสูง เบาหวาน, ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ B หรือ C, โรคทางพันธุกรรมบางชนิด ฯลฯ หรือแม้แต่การใช้ยาบางประเภท ก็อาจเสี่ยงให้เกิดภาวะไขมันเกาะตับได้เช่นกัน
2) ประเภทของไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับชนิดที่เกิดจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic Fatty Liver Disease)
การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินพอดี แทบจะเป็นสาเหตุไขมันพอกตับหลัก ของคนในยุคนี้เลยก็ว่าได้ เนื่องจากดื่มทุกงาน ไม่มีงานสำคัญก็ดื่มกันเป็นว่าเล่น แต่ด้วยความที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะไปทำลายเซลล์ตับ ยิ่งดื่มหนักต่อเนื่องกันไปนานๆ ประสิทธิภาพการทำงานของตับยิ่งด้อยลงถาวร เริ่มแรกคุณจะเสี่ยงเป็นไขมันพอกตับก่อน หากรู้ตัวและปรับพฤติกรรม ไขมันในตับก็ยังพอจะกลับมาอยู่ในระดับที่ดีได้เหมือนเดิม แต่หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ตับอาจมีปัญหาอื่นที่รุนแรงมากขึ้นได้
ไขมันพอกตับชนิดที่ไม่ได้เกิดจากแอลกอฮอล์ (Non-Alcoholic Fatty Liver Disease หรือ NAFLD)
ภาวะไขมันเกาะตับประเภทนี้ อาจเกิดได้จากพฤติกรรมเสี่ยง นอกเหนือจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือบางครั้งอาจวินิจฉัยหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ ทราบเพียงว่า มีไขมันในตับสะสมมากกว่าร้อยละ 5
อาการไขมันพอกตับ
ปกติแล้ว เมื่อเกิดภาวะไขมันพอกตับคนส่วนใหญ่มักไม่รู้ตัว จะรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่เกิดภาวะอื่นแทรกซ้อน ก็คล้ายกับการที่ไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เราจะมารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่อ้วนหรือมีปัญหาสุขภาพแล้ว หรือสังเกตอาการไขมันเกาะตับเบื้องต้นได้จาก ความผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น
- เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
- รู้สึกเหมือนไม่สบายท้อง ความอยากอาหารลดลง
- แน่นบริเวณใต้ชายโครงขวา
และอื่น ๆ แต่อย่างที่ได้บอกไปว่า ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการ เพราะฉะนั้นเมื่อรู้สึกผิดปกติภายในร่างกาย แม้จะไม่มากก็ต้องรีบไปตรวจเช็คทันที หรือถ้าเป็นไปได้ก็ควรตรวจร่างกายประจำปีทุกครั้ง อย่าให้ขาดจะดีที่สุด
4 ระยะไขมันพอกตับ
ส่วนการขยายความรุนแรงหรือระดับของไขมันพอกตับ อาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
- ไขมันพอกตับ ระยะเริ่มต้น จะเป็นช่วงที่ไขมันในตับเพิ่งเริ่มสะสม ยังไม่มีการอักเสบหรือพังผืด ทำให้ผู้ที่มีปัญหาไขมันเกาะตับไม่รู้ตัว เพราะมักไม่แสดงอาการในช่วงแรก
- ไขมันพอกตับ ระยะที่สอง ระยะนี้จะเริ่มมีการสะสมไขมันมากขึ้น จนเกิดการอักเสบและพังผืดอาจเริ่มออกอาการบ้าง แต่ยังไม่ชัดเจน
- ไขมันพอกตับ ระยะที่สาม ระยะที่มีพังผืดและการอักเสบชัดเจน จึงทำให้ผู้ที่เป็นไขมันเกาะตับสัมผัสได้ถึงความผิดปกติ
- ไขมันพอกตับ ระยะ อันตราย ตรวจเจอไขมันพอกตับ มีพังผืดอยู่มากจนกลายเป็นตับแข็งและมีอาการอื่นแทรกซ้อน ภายนอกสังเกตความผิดปกติของร่างกายได้อย่างชัดเจน กรณีที่ร้ายแรงที่สุด อาจเป็นมะเร็งตับและเสียชีวิต
ถามว่า ไขมันพอกตับอันตรายไหม ในช่วงเริ่มแรกไม่อันตราย มีสิทธิ์กลับมาหายเป็นปกติได้ แต่ด้วยความที่กว่าจะรู้ตัวว่าเป็นไขมันเกาะตับ ไขมันในตับก็อาจสะสมเป็นจำนวนมากและสร้างความเสียหายจนไปอยู่ในระดับที่ 3 หรือ 4 ซะแล้ว จึงอันตรายที่ตรงนี้นี่ล่ะ เพราะมีการพัฒนาจากไขมันพอกตับ มะเร็ง ได้
การตรวจไขมันพอกตับ
- การตรวจเลือด ส่วนไขมันพอกตับดูจากค่าอะไร? ตามปกติจะนิยมตรวจ ไขมันพอกตับ ตรวจเลือด เนื่องจากดูได้ทั้งค่าการอักเสบของตับ และระดับไขมัน-น้ำตาลในเลือดในคราวเดียวกัน
- การตรวจอัลตราซาวนด์ การตรวจไขมันพอกตับ ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ค่อนข้างสะดวก ปลอดภัย ส่วนใหญ่นิยมใช้ตรวจตับแข็ง เนื้องอก มะเร็งซะมากกว่า
- การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การตรวจค่าการสะสมไขมันในตับ ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดีที่สะดวกสบาย ไม่เจ็บตัว และค่อนข้างแม่นยำ แต่อาจไม่สามารถตรวจไขมันพอกตับวิธีนี้ได้ สำหรับผู้ที่มีการฝังโลหะในร่างกาย
- การเจาะชิ้นเนื้อตับมาตรวจ วิธีการตรวจไขมันเกาะตับวิธีนี้มีความเสี่ยงมาก เนื่องจากต้องผ่าตัดผ่านการส่องกล้องนำชิ้นเนื้อตับออกมาตรวจอีกครั้ง มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ จะใช้เฉพาะผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการเข็งตัวของเลือดหรือเกล็ดเลือดต่ำมาก
- การตรวจระดับความแข็งของตับและวัดปริมาณไขมันในตับด้วยเครื่อง FibroScan การใช้เครื่องไฟโบรสแกน เป็นวิธีตรวจไขมันพอกตับ ราคาไม่แรง ไม่เจ็บตัว สะดวก รวดเร็ว และวัดค่าความแข็ง/พังผืดของตับได้อย่างแม่นยำ
วิธีรักษาไขมันพอกตับ
เชื่อว่า บางท่านที่ได้อ่านอาจจะเริ่มกังวลแล้วว่า ไขมันพอกตับรักษาหายไหม เพราะเช็คพฤติกรรมการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มของตัวเองก็เสี่ยงซะเหลือเกิน ขอตอบเลยว่า หายได้แน่นอน หากรักษาอย่างถูกวิธีและมีวินัยตั้งใจรักษาอย่างจริงจัง รวมถึงยังเป็นไขมันเกาะตับในระยะที่เป็นไม่มาก ยังไม่มีภาวะรุนแรงแทรกซ้อน แต่ถ้าเป็นไปได้การดูแลและป้องกันตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้คุณห่างไกลจากไขมันพอกตับได้
การรักษาไขมันพอกตับ และการป้องกัน
วิธีรักษาและป้องกันสุขภาพให้ห่างไกลจากไขมันเกาะตับไม่ต่างกัน เพราะการรักษาไขมันพอกตับคือ การหันกลับมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น (คล้ายกับลดน้ำหนัก) อย่าง
1) เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่าย
อย่างที่ได้บอกไปว่า ส่วนใหญ่ไขมันพอกตับเกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และพวกอาหารทอด มัน หวาน ฯลฯ ย่อยยากจนเกิดการสะสมไขมัน ดังนั้น วิธีลดไขมันพอกตับให้จำนวนไขมันในตับไม่มากเกินจนเกิดการสะสมได้ดีที่สุดคือ การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ และย่อยง่าย
2) ลดจำนวนการทานยาและอาหารเสริม
เมื่อเกิดภาวะไขมันพอกตับขึ้นแล้ว ตับจะต้องทำงานหนักขึ้น เนื่องจากมีจำนวนไขมันมาเกาะและอาจมีการอักเสบ พังผืดมาเพิ่มด้วย จึงจำเป็นต้องลดภาระการทำงานของตับ ด้วยการเลือกทานยาและอาหารเสริมเพียงพอดี ไม่มากเกินความจำเป็น แต่สามารถทานอาหารเสริมบำรุงตับ เพื่อช่วยเสริมการทำงานของตับได้
3) ออกกำลังกายตามความเหมาะสม
เพื่อช่วยเผาผลาญให้ร่างกายนำสารอาหารไปใช้ได้อย่างเต็มที่ ไม่เกิดการสะสมภายในร่างกายก็คือ การออกกำลังกาย ตามความเหมาะสมเป็นประจำ อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที ขึ้นไป
อาหารคนเป็นไขมันพอกตับ
อาหารที่ควรกิน
ถามว่า ไขมันพอกตับควรกินอะไร คนที่มีปัญหาเรื่องไขมันเกาะตับไม่ได้มีอะไรต้องเน้นเป็นพิเศษ เพียงแต่ต้องรู้ว่า ควรเลี่ยงอะไรบ้าง ที่จะทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ แต่หากต้องการเสริมให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และร่างกายส่วนต่างๆ สามารถนำไปใช้ได้เต็มที่ ควรเน้นในกลุ่ม โปรตีน ผัก ผลไม้ เป็นหลัก แต่ถ้านึกไม่ออกจริงๆ เราได้คัด 16 สุดยอดอาหารบำรุงตับ พร้อมเคล็ดลับที่จะช่วยให้ตับแข็งแรง มาให้คุณเรียบร้อย!
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน พวกกาแฟ ไขมันพอกตับ
- อาหารที่มีไขมันเยอะ เช่น นม เนย ชีส กะทิ ฯลฯ
- คาร์โบไฮเดรตสูง อย่างแป้งและน้ำตาล
แม้ตับจะเป็นอวัยวะสำคัญที่สามารถฟื้นฟูตัวเองได้ แต่ต้องไม่ลืมว่า ยิ่งวันเวลาผ่านไป ร่างกายพวกเรามีแต่จะเสื่อมถอย แถมมาเจอไขมันพอกตับก็ยิ่งเร่งให้ตับเสื่อมสภาพลง จนอาจทำให้เกิดภาวะอันตราย อย่าง ตับแข็ง ตับอักเสบ ไปจนถึงมะเร็งตับ หากเป็นไปได้ก็อย่าลืมเริ่มต้นดูแลตัวเองให้ดีมีสุขภาพแข็งแรง ห่างไกลจากไขมันเกาะตับตั้งแต่วันนี้ ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงสิ่งไม่จำเป็นที่อาจเพิ่มภาระการทำงานให้แก่ตับ และตรวจสุขภาพประจำปีสม่ำเสมอ เพียงเท่านี้ก็จะมีตับสุขภาพดี พร้อมเป็นศูนย์กลางให้ร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพได้ไม่ยาก แถมไม่ต้องจ่ายแพงหรือยุ่งยากเลย!
“อย่ารอให้สายเกินแก้ เพราะเรามีตับแค่เพียงหนึ่งเดียว”
อาหารเสริมดูแลตับ
- มีสารอาหารมากมายที่จำเป็นต่อการ กำจัดสารพิษ ของตับ อาทิเช่น ซีสเทอีน, กลูตามีน, อาร์จินีน, ไกลซีน, ทอรีน, ฟลาโวนอยด์, โคเอนไซม์ Q10, ซิงค์, วิตามิน B ต่าง ๆ เป็นต้น
- ผลการทดลองในผู้มีปัญหาเรื่องตับพบว่าผู้ทดลองมี สุขภาพตับดีขึ้น
- สินค้าผ่านการขึ้นทะเบียน อย. 11-1-18157-1-0056