ก่อนจะพูดถึงเรื่องถั่งเช่ากับระบบภูมิคุ้มกัน เรามารู้จักกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรากันก่อน ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรานั้นมีหน้าที่สำคัญ 3 อย่างคือ ป้องกัน ทำลายเชื้อโรคสิ่งแปลกปลอม และรักษาสมดุลของร่างกายเอาไว้ เช่น ทำลายเซลล์ที่เสื่อมสภาพ เซลล์ที่อายุมาก คอยจับตาเฝ้าระวังความผิดปกติของเซลล์และทำลายทิ้ง เพื่อป้องกันเนื้องอกและมะเร็ง
ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเรานั้นจะมีอยู่ด้วยกัน 3 ด่าน แบ่งเป็น 2 ระบบ โดย 2 ด่านแรกจะอยู่ในระบบที่เรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกันโดยกำเนิด (Innate immunity) หรือภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะ ส่วนด่านที่ 3 จะเป็น ระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง (Acquired Immunity) หรือภูมิคุ้มกันชนิดจำเพาะ ดังนี้
- ด่านที่ 1 คือ เป็นภูมิคุ้มกันด่านป้องกันทางกายภาพ เคมี และพันธุกรรม เช่น ผิวหนัง เยื่อ เมือก น้ำมูก น้ำลาย กรดในกระเพาะอาหาร ยกตัวอย่างเช่น การไอ จาม หรือการที่ต่อมน้ำตาหลั่งน้ำตาออกมา เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอม เป็นต้น
- ด่านที่ 2 คือ เป็นภูมิคุ้มกันด่านป้องกันทางเคมีระดับเซลล์ เช่น ปฏิกิริยาการอักเสบ กระบวนการฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis)
- ด่านที่ 3 คือ เป็นภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นมาจากการติดเชื้อ การได้รับวัคซีน หรือจากการที่ระบบน้ำเหลือง และเม็ดเลือดขาวกลุ่ม Lymphocyte สร้างแอนติบอดี้ขึ้นมากำจัดสิ่งแปลกปลอม เป็นต้น[1]
โดยเซลล์ที่มีความสำคัญในระบบภูมิคุ้มกันก็คือ เซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งมีหลายชนิด คือ Lymphocyte (B-cell , T-cell และ Natural Killer Cell), Neutrophil, Monocyte/Macrophage, Eosinophil และ Basophil โดยเซลล์เหล่านี้จะทำหน้าที่สำรวจหา จับ และทำลายสิ่งแปลกปลอม รวมถึงส่งข่าวให้เซลล์ที่เกี่ยวข้องในระบบภูมิคุ้มกันมาช่วยกันกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นด้วย
การเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันด้วยสมุนไพรจากธรรมชาติ
ถั่งเช่า
มีงานวิจัยหลายฉบับแสดงให้เห็นว่า
โดยการเพิ่มจำนวนหรือกิจกรรมของเซลล์เหล่านี้Liu และคณะในปี 1992 พบว่า สารสกัดจากถั่งเช่า ช่วยเพิ่มกิจกรรมของ Natural Killer Cell[2] ซึ่งถือเป็นเซลล์เพชรฆาตที่ทำหน้าที่โจมตีสิ่งผิดปกติ เซลล์มะเร็ง และเซลล์ร่างกายที่ติดไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Guan และคณะในปี 1992 ได้ทดลองให้สารสกัดถั่งเช่าในผู้ป่วยไตล้มเหลว พบว่าถั่งเช่าช่วยฟื้นฟูระบบการทำงานของไต และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยไตล้มเหลวได้ โดยการเพิ่ม antibody ชนิด OKT4 และเพิ่มสัดส่วนของ OKT4/OKT8[3]
Kuo และคณะในปี 2007 พบว่า Exo-polysaccharides จากถั่งเช่าช่วยเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีน Cytokine ในระบบภูมิคุ้มกัน[4] ซึ่งเป็นโปรตีนที่ใช้สื่อสารระหว่างเซลล์ ทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถมากำจัดสิ่งแปลกปลอมได้อย่างรวดเร็ว
Chen และคณะในปี 2012 พบว่า Acid polysaccharide fraction (APSF) ที่สกัดได้จากถั่งเช่า ช่วยเพิ่มกิจกรรมของ Macrophage[5] ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง
บทความแนะนำ:
เผยต้นกำเนิดสมุนไพร เห็ดตังถั่งเช่า พร้อมสรรพคุณและประโยชน์
เห็ดหลินจือ
มีงานวิจัยในผู้ป่วยโรคมะเร็งจำนวน 134 คน โดยการให้ทานเห็ดหลินจือบรรจุแคปซูล 1,800 มก./วัน นาน 12 สัปดาห์ พบว่า 80% ของผู้ป่วยกลุ่มนี้มีเซลล์ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น โดยมีการเพิ่มจำนวนของโปรตีนในระบบภูมิคุ้มกัน และมีการเพิ่มกิจกรรมของ NK Cell[6]
อีกงานวิจัยในผู้ป่วยมะเร็งปอดจำนวน 68 คน ได้ผลในทำนองเดียวกันคือ มีการเพิ่มขึ้นของจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว T cells และ NK cells[7]
บทความแนะนำ:
เห็ดหลินจือ สุดยอดสมุนไพรสรรพคุณมากมาย ที่สร้างปาฏิหาริย์จนคนทั้งโลกให้การยอมรับ
โสมเกาหลี
เป็นที่ทราบกันดีว่าโสมสามารถช่วยในการปรับระบบภูมิคุ้มกันได้ ทั้งส่วนราก ลำต้น ใบหรือในรูปของสารสกัด และยังถูกนำมาใช้เพื่อรักษาสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ช่วยต้านทานความเจ็บป่วย การติดเชื้อ โดยช่วยในการทำงานของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน
มีงานวิจัยในผู้ใหญ่สุขภาพดี 20 คน โดยให้ทานสารสกัดโสม 100 มก. ทุก ๆ 12 ชั่วโมงเป็นเวลา 8 สัปดาห์พบว่าช่วยเพิ่มกิจกรรมการจับกินสิ่งแปลกปลอม (phagocytic activity) ของเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ NK cell[8] อีกด้วย
จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าสมุนไพรธรรมชาตินั้น มีส่วนช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งหากอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจอยากหามารับประทานแต่ติดตรงที่ไม่รู้จะซื้อจากที่ไหนดี ซื้อจากที่อื่นจะมีสมุนไพรครบถ้วนตามนี้เลยไหม
เรารวมมาให้คุณแล้วใน OMG Cordy-1 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถั่งเช่าทิเบต ตังถั่งเช่า คุณภาพแท้ 100% ผสมเห็ดหลินจือ โสมเกาหลี เบต้ากลูแคน สกัดเข้มข้น เพราะสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญให้ OMG Cordy-1 ช่วยดูแลคุณครับ
(60 แคปซูล)
OMG Cordy-1 ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ถั่งเช่าทิเบต ตังถั่งเช่า คุณภาพแท้ 100% ผสมเห็ดหลินจือ โสมเกาหลี เบต้ากลูแคน สกัดเข้มข้น ฟื้นฟูร่างกายและเสริมสมรรถภาพใน 1 เดียว
อ้างอิง
- ↑ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. หมวดที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกันการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
http://nvi.ddc.moph.go.th/Download/PowerPoint_TU/Unit%201/Unit%201.pdf - ↑ Liu, C., Lu, S., & Ji, M. R. (1992). Effects of Cordyceps sinensis (CS) on in vitro natural killer cells. Chinese Journal of Integrated Traditional and Western Medicine, 12, 267–269
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1392475 - ↑ Guan, Y. J., Hu, Z., & Hou, M. (1992). Effect of Cordyceps sinensis on T-lymphocyte subsets in chronic renal failure. Chinese Journal of Integrated Traditional and Western Medicines, 12(338–339), 323
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1421972 - ↑ Kuo, M. C., Chang, C. Y., Cheng, T. L., & Wu, M. J. (2007). Immunomodulatory effect of exo-polysaccharides from submerged cultured Cordyceps sinensis: Enhancement of cytokine synthesis, CD11b expression, and phagocytosis. Applied Microbiology and Biotechnology, 75, 769–775
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17310399 - ↑ Chen, W., Yuan, F., Wang, K., Song, D., & Zhang, W. (2012). Modulatory effects of the acid polysaccharide fraction from one of anamorph of Cordyceps sinensis on Ana-1 cells. Journal of Ethnopharmacology, 142, 739–745
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22710292 - ↑ Gao Y. H, Zhou S. F, Jiang W. Q, Huang M, Sai X. H. 2003. Effects of Ganopoly (a Ganoderma lucidum polysaccharide extract) on immune functions in advanced-stage cancer patients. Immunol Invest. 2003;32:201–15
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/12916709 - ↑ Gao Y. H, Sai X. H, Chen G. L, Ye J. X, Zhou S. F. (2003). A randomized, placebo-controlled, multi-center study of Ganoderma lucidum (W. Curt.: Fr.) Lloyd (Aphyllophoromycetideae) polysaccharides (Ganopoly) in patients with advanced lung cancer. Int J Med Mushrooms. 2003;5:368–81
http://www.dl.begellhouse.com/journals/708ae68d64b17c52,40f85691198060b9,29caf9ba3f525dbb.html - ↑ Scaglione F, Ferrara F, Dugnani S, Falchi M, Santoro G, Fraschini F. (1990). Immunomodulatory effects of two extracts of Panax ginseng C.A. Meyer. Drugs Exp Clin Res. 1990;16:537–542
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2100737