
ได้แก่
- กลุ่มนิวคลีโอไซด์ (Nucleosides)
เช่น อะดีโนซีน (Adenosine) กัวโนซีน (Guanosine) และคอดีซีปิน (Corycepin) ซึ่งเป็นสารเฉพาะตัวสำคัญที่พบในถั่งเช่า มีผลในการช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ต้านมะเร็ง และยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว - กลุ่มคอร์ดิเซ็ป สเตอรอล (Cordycep sterol)
เช่น Ergosterol และ b-Sitosterol ถือเป็นสเตอรอลจากพืช (Phytosterol) มีโครงสร้างคล้ายคลอเลสเตอรอล ทำให้แย่งจับกับตัวดูดซึมคลอเลสเตอรอล ส่งผลให้ร่างกายดูดซึมคลอเลสเตอรอลลดลง แต่ไม่มีโทษต่อร่างกาย นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการต้านเซลล์มะเร็ง - กลุ่มโพลีแซ็คคาไรด์ (Polysaccharides)
เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น Mannoglucan, Acid polysaccharide fraction (APSF), Heteropolysaccharides (PS-A) และ Exo-polysaccharides มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการต้านเนื้องอก มีพิษต่อเซลล์มะเร็ง มีฤทธิ์ในการลดน้ำตาลและไขมันในเลือด และยังมีผลในการช่วยกระตุ้นระบบภูมิต้านทานของร่างกาย - กลุ่มโปรตีนถั่งเช่า
เช่น CSAP, Cordymin (peptide), Cordycedipeptide A และ Cordyceamides A and B ช่วยยับยั้งแบคทีเรีย ลดการอักเสบ และมีพิษต่อเซลล์มะเร็ง - วิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิด
ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
สารสกัดจากถั่งเช่า และผงถั่งเช่า ต่างกันอย่างไร
ต้องขอบอกก่อนว่าถั่งเช่าที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดนั้น อาจแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบคือ สารสกัดจากถั่งเช่า และ ผงถั่งเช่า
สารสกัดจากถั่งเช่า
ในการสกัดสารออกฤทธิ์สำคัญจากถั่งเช่าออกมาในรูปแบบสารสกัดนั้น สามารถทำได้โดยวิธีการบดละเอียด แล้วใช้สารละลายสะกัดสารออกมา ซึ่งสารละลายที่ใช้ในการสกัดนั้นมีหลายชนิด
สารออกฤทธิ์สำคัญแต่ละตัวจะสามารถถูกสกัดได้โดยตัวทำละลายต่างกัน เช่น การสกัดด้วยน้ำ จะสามารถสกัดสารกลุ่ม nucleosides และ polysaccharides ได้ดี หรือการสกัดด้วยแอลกอฮอล์ จะสามารถสกัดสารกลุ่ม nucleosides, polysaccharides และ proteins ได้ดี เป็นต้น หลังจากนั้นจึงนำน้ำที่สกัดได้ไปทำให้แห้งเป็นผงอีกทีนึง ซึ่งข้อดีของการสกัด คือ จะได้ปริมาณมาก แต่ก็จะแลกกับการที่ได้สารออกฤทธิ์สำคัญมาไม่ครบถ้วน
ผงถั่งเช่า
ส่วนวิธีการที่ทำให้ได้มาของผงถั่งเช่านั้น จะเป็นวิธีการเดียวกับแบบดั้งเดิมโบราณ คือ การทำให้แห้งแล้วค่อยนำมาบดเป็นผง ซึ่งวิธีการนี้จะมีข้อดีตรงที่ ทำให้ได้สารออกฤทธิ์สำคัญมาอย่างครบถ้วน
อ้างอิง
*M.G. Shashidhar, P. Giridhar, K. Udaya Sankar, B. Manohar. 2013. Bioactive principles from Cordyceps sinensis:Apotent food supplement – A review. Journal of Functional Foods
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1756464613001254