(Last Updated On: 10/09/2021)
5 วิธีรักษาข้อเข่าเสื่อม

อาการข้อเข่าเสื่อม หรือ ข้อเข่าอักเสบ หลายคนมักเข้าใจผิดว่า การจะเป็นโรคนี้ได้ก็ต่อเมื่อเป็นผู้สูงอายุแล้วเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว “โรคข้อเข่าเสื่อม” ไม่ต้องแก่ก็เป็นได้ครับ

ถือว่าเป็นภัยเงียบที่แอบแฝงอยู่ในกิจวัตรประจำวันของเราทุกคน ที่หากใช้เข่าอย่างไม่ระมัดระวัง ไม่ดูแลป้องกันให้ดี หรือเคยเกิดอาการบาดเจ็บที่เข่า มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ คุณก็อาจจะเป็นโรคนี้ได้เช่นกันครับ

โรคข้อเข่าเสื่อมจัดว่าเป็นโรคเรื้อรังอันดับต้น ๆ ที่สร้างความน่ารำคาญให้กับเราเป็นอย่างยิ่ง แถมเป็นแล้วหากปล่อยไว้นานไม่รีบทำการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต กระดูกเข่าก็จะยิ่งเสียหายเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้อาการปวดรุนแรงมากขึ้นตามไปด้วย

ซึ่งจากผลสำรวจนั้นเราสามารถพบผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในผู้ที่มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไปถึง 2 ใน 5 คน และพบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายครับ นอกจากนี้ยังพบด้วยว่าผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม อาจมีอาการเสื่อมที่ข้อต่อบริเวณอื่นอีกด้วย เช่น คอ สะโพก ข้อมือ ข้อเท้า

สำหรับประเทศไทยนั้นพบว่ามีผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมถึง 6 ล้านคน ซึ่ง 90% ไม่รู้ตัวว่าตัวเองกำลังเป็นข้อเข่าเสื่อม!

ส่วนประกอบของข้อเข่า

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนครับว่า ข้อเข่าของคนเรานั้นประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

  1. กระดูกโคนขา (Femur) ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของกระดูกต้นขา
  2. กระดูกหน้าแข้ง (Tibia) ซึ่งเป็นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของกระดูกหน้าแข้ง
  3. ลูกสะบ้า (Patella) หรือที่เรียกว่ากระดูกสะบ้าหัวเข่า
ส่วนประกอบข้อเข่า

ข้อต่อระหว่างสามส่วนนี้เรียกว่าข้อต่อแบบบานพับ เหมือนกับการปิด- เปิดบานประตู ช่วยให้งอขึ้นและลงได้ เชื่อมต่อกันด้วยเส้นเอ็นที่แข็งแรงอยู่บริเวณด้านข้างและตรงกลาง (เอ็นไขว้หน้าและหลัง)

โดยมีลูกสะบ้าเลื่อนไปมาผ่านบริเวณด้านหน้าของกระดูกโคนขาที่เรียกว่า Condyles เมื่อเรางอเข่าเพื่อนั่งหรือหมอบ จะช่วยป้องกันไม่ให้เข่าของเราเสียดสีกัน กระดูกสะบ้าหัวเข่าจะมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการส่งถ่ายแรงของข้อเข่าโดยเฉพาะเวลาเหยียดขาครับ

สาเหตุข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม

สาเหตุการเสื่อมของข้อเข่า ข้อเข่าอักเสบ เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อกระดูกอ่อนที่คลุมปลายกระดูกหน้าแข้ง, กระดูกโคนขา และลูกสะบ้าเกิดการสึกหรอ หรือมีความผิดปกติของน้ำหล่อลื่นบริเวณข้อต่อ ทำให้กระดูกทั้ง 3 เกิดการเสียดสีกันโดยตรง แต่อาจมีปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย ซึ่งปัจจัยที่นำไปสู่การเกิดโรคเข่าเสื่อม คือ

กรรมพันธุ์

เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมที่พบได้บ่อยเป็นอันดับสอง ที่พ่อแม่สามารถส่งต่อไปยังลูกหลานได้ จากการศึกษาพบว่าคนไข้ที่มีกรรมพันธุ์คนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จะมีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมมากกว่าคนทั่วไป

เพราะฉะนั้นเรื่องนี้จึงอธิบายได้ว่า ทำไมบางคนอายุยังน้อยถึงเริ่มมีอาการของข้อเข่าอักเสบแล้ว หรือบางคนที่ผอมแต่ก็มีอาการข้อเสื่อมได้ครับ

น้ำหนักตัว

ผู้ที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นโรคอ้วน เนื่องจากน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะสร้างแรงกดทับต่อข้อต่อของคุณและทำให้กระดูกอ่อนที่รองรับข้อต่อทำงานหนักมากขึ้น จนเกิดการเสื่อมเร็วกว่าที่ควรจะเป็น

เคยเกิดอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บมาก่อน

ภาวะนี้เกิดจากการที่กระดูกข้อเข่าเคยได้รับการบาดเจ็บมาก่อน แล้วส่งผลให้เกิดข้อเข่าเสื่อมในภายหลัง เช่น กระดูกที่แตกหรือหัก อาจฟื้นฟูติดได้ไม่ดีพอ ทำให้ผิวข้อเข่าผิดปกติไม่เหมือนเดิม เกิดการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนที่ผิวข้อเข่า ทำให้ผิวข้อเข่าไม่เรียบ กระดูกข้อเข่าเกิดการเสียดสีโดยตรง

การทำงาน / ใช้งานเข่ามากเกินไป

หนึ่งในสาเหตุที่พบบ่อยที่สุดของข้อเข่าอักเสบคือการใช้งานเข่าหนักเกินไป เช่น เมื่อต้องยืนนาน ๆ ตลอดทั้งวัน น้ำหนักของร่างกายจะสร้างแรงกดทับต่อข้อต่อของคุณมากขึ้น และอาจทำให้ข้อต่อสึกหรอเร็วขึ้น

ซึ่งอาจจะเกิดจากความจำเป็น เช่น ลักษณะการทำงานที่จำเป็นต้องยืนนาน ๆ ตลอดทั้งวัน ทำให้ข้อต่อไม่มีเวลาได้พัก เมื่อเริ่มมีอาการปวดก็มักจะใช้วิธีทนฝืนต่อไป จนข้อต่อเกิดการบาดเจ็บสะสมเป็นเวลาหลายปี จนกลายเป็นเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในที่สุด

อายุที่เพิ่มมากขึ้น

เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับแรก เนื่องจากข้อต่อเกิดการสึกหรอมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ในความเป็นจริงแล้วกระดูกอ่อนข้อต่อจะมีการสลายและการซ่อมแซมสร้างใหม่ตลอดเวลา แต่เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นร่างกายจะซ่อมแซมกระดูกอ่อนได้ยากขึ้น เกิดการสลายมากกว่าการสร้างใหม่ โดยผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้มากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า

อาการข้อเข่าเสื่อม

เริ่มต้นนั้นคุณอาจมีความรู้สึกว่าเคลื่อนไหวหัวเข่าได้ไม่สะดวกเหมือนเดิม เริ่มมีอาการปวดเล็กน้อยขณะทำกิจกรรม ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาหรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง อาการก็จะค่อย ๆ รุนแรงขึ้น เช่น ประสิทธิภาพในการเคลื่อนไหวเริ่มลดลง เริ่มปวดบ่อยขึ้นถี่ขึ้นครับ

โดยอาการที่พบในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมนั้น อาจตรงกับที่คุณเป็นในตอนนี้เพียงข้อเดียวหรือหลายข้อรวมกัน ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ ซึ่งถ้าเป็นมากกว่า 2 ข้อขึ้นไป ทางเราก็ขอแนะนำให้รีบไปหาหมอตรวจโดยด่วนเลยครับ อย่าปล่อยให้อาการรุนแรงจะได้ไม่ต้องถึงขั้นผ่าตัดนอนโรงพยาบาล มาดูกันครับว่าอาการที่ว่ามามีอะไรบ้าง

  • มีอาการปวดเข่าขณะเคลื่อนไหว หรือมีอาการปวดเมื่อมีการใช้งานหัวเข่าเป็นระยะเวลานาน
  • ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง เช่น เดิน, ลุกยืน หรือขึ้น-ลงบันได
  • มีอาการปวดเข่าในตอนเช้าหลังตื่นนอนประมาณ 1 ชั่วโมงหรืออาจน้อยกว่า นานกว่า 3 วันติดต่อกัน
  • ไม่สามารถงอหรือเหยียดเข่าได้สุด
  • มีเสียงดังกรอบแกรบในข้อเข่า
  • ยืนได้ไม่สะดวก ไม่สามารถยืนทรงตัวได้ในท่ายืนปกติ
  • ข่อเข่ามีลักษณะโก่งผิดรูป มีอาการบวม

5 วิธีรักษาข้อเข่าเสื่อมมีอะไรบ้าง?

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นวิธีรักษาก็จะแตกต่างกันไปตามอาการของแต่ละบุคคล ซึ่งสามารถพิจารณาได้จากความรุนแรงของอาการ ขึ้นอยู่กับว่าอาการเข่าเสื่อมของคุณนั้นมากน้อยแค่ไหน ส่งผลต่อความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือไม่ มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากน้อยแค่ไหน หรือเป็นเพียงอาการปวดเมื่อยเล็กน้อยหลังออกกำลังกายเท่านั้น

โดยตัวเลือกการรักษานั้นมีตั้งแต่การรับประทานยาแก้ปวด การลดน้ำหนัก ทำกายภาพบำบัด การฉีดยา ไปจนถึงการผ่าตัด

1. ผ่าตัดข้อเข่าเสื่อม

ผ่าตัดคงไม่มีใครชอบคำนี้แน่ ๆ ถ้าเลี่ยงได้ใคร ๆ ก็อยากเลี่ยง การผ่าตัดมักใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายจริง ๆ ในผู้ที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมขั้นรุนแรง หรืออาการอาจยังไม่รุนแรงแต่หากปล่อยทิ้งไว้อาจจะยิ่งรุนแรงมากขึ้นจึงจำเป็นต้องผ่าตัดโดยด่วน รวมถึงอาการเข่าเสื่อมที่ไม่สามารถรักษาบรรเทาอาการลงได้ด้วยการรักษาแบบอื่น ๆ ได้ จึงจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าแบบบางส่วน (Partial Knee Replacement) กับ การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าแบบทั้งหมด (Total Knee Replacement)

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเนื้อเยื่อ ผิวข้อกระดูกที่เสียหายออก แล้วแทนที่ด้วยส่วนประกอบเทียม โดยวัสดุเทียมที่นำมาใช้ทดแทนนั้น ได้แก่ ชิ้นส่วนเซรามิก โลหะสังเคราะห์ หรือแผ่นพลาสติก

2. ฉีดน้ำหล่อลื่นผิวข้อเข่า

การฉีดยาเป็นวิธีรักษาอีกทางเลือกหนึ่ง เนื่องจากผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมนั้น น้ำในข้อเข่าจะมีความผิดปกติ เป็นแนวทางการรักษาที่มักใช้ในผู้ป่วยที่มีการรับประทานยาหรือทำกายภาพบำบัดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น การรักษาด้วยวิธีนี้จะมีประสิทธิภาพดีต่อผู้ที่มีอาการเสื่อมของข้อเข่าในระยะเล็กน้อย – ปานกลางเท่านั้น

โดยน้ำหล่อลื่นที่ฉีดนั้น จะเป็นสารสกัดของกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid) ซึ่งกรดชนิดนี้เป็นส่วนประกอบปกติของน้ำในข้อมนุษย์เราอยู่แล้ว ทำให้ไม่มีผลข้างเคียง แต่ไม่แนะนำในผู้ที่ข้อต่อมีการติดเชื้อ หรือเป็นโรคผิวหนังในบริเวณที่ฉีด เพราะเชื้อโรคอาจเข้าสู่ร่างกายทำให้ข้อต่อเกิดการติดเชื้อได้ครับ

3. ทำกายภาพบำบัด ลดน้ำหนักตัว

ความอ้วนถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ มีความเกี่ยวเนื่องกับโรคข้อเข่าเสื่อมอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากอาการข้อเข่าเสื่อมจะแย่ลงเมื่อน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น เพราะต้องคอยรับน้ำหนักตัวเราเกือบทั้งตัว (แค่คิดก็หนักแทนแล้ว) การลดน้ำหนักจึงถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยครับ

ซึ่งการทำกายภาพบำบัดได้รับการพิสูจน์มาแล้วว่า เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมมากที่สุด เป็นวิธีรักษาระยะยาวที่สามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาแบบอื่น ๆ ได้ด้วย

โดยเฉพาะผู้ป่วยในระยะเล็กน้อย – ปานกลางการทำกายภาพบำบัดนี้จะได้ผลดีมาก ๆ นอกจากจะช่วยชะลอ ป้องกันไม่ให้อาการข้อเสื่อมรุนแรงมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติได้โดยไม่มีอาการปวดเลยครับ

การทำกายภาพบำบัดต้องทำอะไรบ้าง มาดูกันเลยดีกว่า..

  • เพิ่มกล้ามเนื้อขา การเสริมกล้ามเนื้อส่วนขา จะช่วยลดภาระการรับน้ำหนักข้อเข่าได้เป็นอย่างดี เนื่องจากน้ำหนักจะถูกส่งตรงมาที่กล้ามเนื้อต้นขาก่อนแล้วจึงค่อยส่งต่อไปยังข้อเข่า หากกล้ามเนื้อต้นขามีความแข็งแรง น้ำหนักที่ส่งต่อไปยังข้อเข่าก็จะลดน้อยลง ในทางกลับกันหากกล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง หน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมดก็จะตกไปอยู่ที่ข้อเข่าเราทันที ทำให้หัวเข่าต้องทำงานหนักอยู่คนเดียวไม่มีใครช่วยแบ่งเบาภาระนั่นเองครับ ยกตัวอย่างท่าบริหารเข่าเสื่อม เช่น ท่า Squats, ท่า Leg Press เป็นต้น ในช่วงแรกอาจต้องมีคนคอยช่วยเหลือสำหรับผู้ที่ปัญหาข้อต่อมีอาการตึงมาก ๆ ไม่สามารถยืดเหยียด งอเข่าได้สุด หรือมีอาการปวดขณะทำ
  • ออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนัก นอกจากท่าบริหารเข่าเสื่อมแล้วการออกกำลังกายลดน้ำหนักก็เป็นสิ่งจำเป็น แถมยังได้สุขภาพที่แข็งแรงเป็นของแถมอีกด้วย โดยการออกกำลังกายที่แนะนำ คือ การเดิน, รำไทเก๊ก, เล่นโยคะ, การว่ายน้ำหรือออกกำลังกายแอโรบิคในน้ำก็เป็นอีกวิธีที่เหมาะและดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม เพราะน้ำจะช่วยลดแรงกระแทกบริเวณข้อเข่าได้เป็นอย่างดี, การปั่นจักรยานก็เป็นการออกกำลังกายอีกประเภทที่ไม่เกิดแรงกระแทกที่หัวเข่าครับ
  • ควบคุมปริมาณอาหาร ไม่ทานอาหารตามใจปาก ลดของหวาน งดอาหารที่มีไขมันสูง ชานมไข่มุก บุฟเฟต์ หรือถ้ายังตัดใจหักดิบไม่ได้ก็พบกันครึ่งทาง นาน ๆ ค่อยเจอกันที
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้แก่ การไม่ยืนพักขา ไม่ยืนทิ้งน้ำหนักตัวลงขาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง, หลีกเลี่ยงท่านั่งที่ไม่ดีต่อข้อเข่า เช่น การนั่งพับเพียบ การนั่งงอเข่า นั่งขัดสมาธิ หรือคุกเข่า, หลีกเลี่ยงการขึ้น – ลงบันได หากเลี่ยงไม่ได้ควรมีคนช่วยพยุงหรืออุปกรณ์ช่วยค้ำยันรองรับน้ำหนักตัว

4. ยาข้อเข่าเสื่อม

การใช้ยาในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจก่อนครับว่า ยาเหล่านี้ไม่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมได้นะ แต่เป็นเพียงแค่วิธีการบรรเทาอาการชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น โดยตัวยาที่ใช้สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

  • ยาทานแก้ปวด ในกรณีที่ปวดไม่มากพาราเซตามอลเป็นยาที่ควรเลือกใช้เป็นอันดับแรกสุด เพราะปลอดภัย และมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแอสไพริน และยาไอบูโพรเฟน
  • ยาทาเฉพาะที่แก้ปวดแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ใช้ทานวดบริเวณที่ปวด เช่น ยาแคปไซซิน หรือครีมไดโคลฟีแนค เป็นต้น
  • ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ในรูปของยากินและยาฉีดจะช่วยลดอาการอักเสบได้ดี สิ่งสำคัญคือ ควรใช้ยาเหล่านี้อย่างระมัดระวัง ตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรอย่างเคร่งครัด เนื่องจากยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงค่อนข้างรุนแรงและไม่ปลอดภัยสำหรับทุกคนครับ
  • ยาคลายกล้ามเนื้อการอักเสบ ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและตึงในผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากยาเหล่านี้มีผลข้างเคียงเช่นกัน แพทย์จึงเลือกสั่งจ่ายยาเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น

5. คอลลาเจนไทพ์ทู

คอลลาเจนไทพ์ทู หรือ Collagen type 2 คือ

คอลลาเจนชนิดเดียวที่พบในกระดูกอ่อนบริเวณข้อต่อ

จัดเป็นโปรตีนประเภทหนึ่ง ที่สามารถใช้รักษาอาการปวดข้อที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าอักเสบทั้งหลายได้ เช่น ปวดข้อเข่า ข้อต่อตามร่างกาย, ข้อบวมอักเสบ, ข้อต่อมีเสียงดัง, ข้อต่อเสื่อม และโรคเกาต์ จากผลงานวิจัยในต่างประเทศได้ระบุไว้ว่า สามารถแก้ปวดได้ดีกว่ายากลูโคซามีนถึง 2.6 เท่าเลยล่ะ

สำหรับในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุญาตให้คอลลาเจนไทพ์ทูขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะสุขภาพของข้อเข่าที่ต้องการส่วนผสมจากธรรมชาติ แทนการทานยาที่มีผลข้างเคียงมากกว่า

การป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม

วิธีป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมนั้นไม่ยากเลยครับอ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนก็คงจะพอเดากันได้ก็คือ

  • หลีกเลี่ยงการยกของหนักไม่ใช้งานข้อเข่าหนักเกินไป เช่น การยืนพักขา, ยืนทิ้งน้ำหนักตัวลงขาเพียงข้างใดข้างหนึ่ง, การนั่งพับเพียบ, การนั่งงอเข่า, นั่งขัดสมาธิ หรือคุกเข่า เพราะท่าเหล่านี้หัวเข่าจะได้รับแรงกดทับสูง
  • ควบคุมน้ำหนักตัว ข้อเข่าจะได้ไม่ต้องรองรับน้ำหนักมาก ยิ่งข้อเข่าเราต้องคอยรับน้ำหนักตัวเรามากเท่าไรก็มีโอกาสข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
  • การออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรง สามารถช่วยลดภาระการทำงานของข้อเข่าได้
  • ไม่เล่นกีฬาที่มีการกระแทก หรือออกกำลังกายที่หักโหมเกินไป เพราะส่งผลเสียต่อข้อต่อทำให้หัวเข่ารับน้ำหนักมากเกินไป รวมไปถึงการเหยียดขางอเข่าที่บ่อยเกินไป เสี่ยงต่อโรคข้อเข่าเสื่อมได้เช่นกัน

จบไปแล้วกับ 5 วิธีรักษาข้อเข่าเสื่อม และวิธีป้องกัน ทางเราก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้อ่านอยู่ไม่น้อย และขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ที่มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมทุกคนครับ

ถ้าเราป้องกัน ถนอมหัวเข่าไม่ใช้งานมันหนักเกินไป หรือหาทางเลือกเพิ่มเติมในการเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันข้อเข่า คุณอาจเลือกทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีคอลลาเจนเพิ่มเติมที่เกริ่นไปแล้วข้างต้นก็สามารถทำได้ครับ เพียงเท่านี้คุณก็จะมีหัวเข่าที่แข็งแรง เคลื่อนไหวได้อย่างไร้กังวล

OMG Caltinum
อาหารเสริมบำรุงข้อเข่า
  • คอลลาเจน ไทป์-ทู (Collagen Type-II) เป็นคอลลาเจนที่จำเป็นในการบำรุงรักษาข้อเข่า และยังลดอาการปวดเข่าได้อย่างดีเยี่ยม
  • แคลเซียม แอล-ทรีโอเนต เป็นแคลเซียมที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ถึง 95% ทำให้ป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ดีกว่าแคลเซียมชนิดอื่น
Caltinum
ดูข้อมูลสินค้า